EQ

“E.Q.” คือ ชื่อย่อของ Emotional Quotient หรือ เชาว์อารมณ์ (Emotional Intelligence) ซึ่งหมายถึง ความสามารถใน การตระหนักรู้ถึง ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น เพื่อการสร้างแจงจูงใจในตนเองบริหารจัดการอารมณ์ต่าง ๆ ได้ (Goleman, 1998) ในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ E.Q. ได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อและมุมมองต่อสูตรแห่งความสำเร็จในเรื่อง การเก่งคน เก่งคิด และเก่งดำเนินชีวิต (Cooper, and Sawaf, 1997) คนที่คิดแก้ปัญหาเฉาะทางได้ดี หรือ มี I.Q. (Intelligent Quotient) สูง หรือความเฉลียวฉลาดทางสติปัญญาสูงอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ หรืองานทางด้านบริหาร (Gibbs, 1995) นอกจากนี้ E.Q. ยังมีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นชีวิตทำงาน ชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัวและสังคม เรื่องที่น่าสนใจและน่าดีใจก็คือ E.Q. สามารถเพิ่มพูนได้ฝึกฝนได้ เพิ่มทักษะได้ การเสริมสร้าง E.Q. โดยวิธีการฝึกใช้ E.Q. ก็เป็นวิธีการที่จะช่วยเพิ่มพูน ความฉลาดทางอารมณ์ แม้ว่า E.Q. จะเป็นของใหม่สำหรับเมืองไทย แต่หากมองเข้าไปลึก ๆ ถึง ข้อคิดของการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ที่ปู่ ย่า ตา ยาย หรือบรรพบุรุษของไทยเราได้ฝากคติเตือนใจไว้ในสำนวน สุภาษิต คำคมและโวหาร เช่น “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” อันเป็นข้อคิดที่ให้ลูกหลานรู้ ระวังรักษาควบคุมอารมณ์ รู้ระวังความคิด ไม่ให้กระเจิดกระเจิง กระจัดกระจาย อารมณ์และความคิดซึ่งโบราณหมายรวมถึง จิตหรือใจเป็นต้นแห่งการกระทำ และคำพูด ตลอดจนการเลือกตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยกาย หากมองในแง่นี้ แม้ว่า E.Q. จะดูเป็นของใหม่แต่ การใช้ E.Q. สำหรับคนไทยในหลายเรื่องได้รับการปลูกฝังกันมานานทีเดียว

ความสำคัญขององค์ประกอบ อีคิว

องค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการของ อีคิว ได้แก่

1) ความตระหนักรู้ตนเอง (Self Awareness)
2) การจัดการกับอารมณ์ (Managing Emotion)
3) การจูงใจตนเอง (Motivating Oneself )
4) การเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
5) ทักษะทางสังคม (Social Skills)

Leave a comment